วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

Dinosaur

ไดโนเสาร์ (Dinosaur)

ไดโนเสาร์ (อังกฤษ: Dinosaur) เป็นชื่อเรียกโดยรวมของสัตว์ดึกดำบรรพ์ในอันดับใหญ่ Dinosauria ซึ่งเคยครองระบบนิเวศบนพื้นพิภพ ในมหายุคมีโซโซอิกเป็นเวลานานถึง 165 ล้านปี ก่อนจะสูญพันธุ์ ไปเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลาน แต่อันที่จริงไดโนเสาร์เป็นสัตว์ในอันดับหนึ่งที่มีลักษณะก้ำกึ่งระหว่างสัตว์เลื้อยคลานและนก
คำว่า ไดโนเสาร์ ในภาษาอังกฤษ dinosaur ถูกตั้งขึ้นโดย เซอร์ ริชาร์ด โอเวน นักบรรพชีวินวิทยา ชาวอังกฤษ ซึ่งเป็นการผสมของคำในภาษากรีกสองคำ คือคำว่า deinos (δεινός) (ใหญ่จนน่าสะพรึงกลัว) และคำว่า sauros (σαύρα) (สัตว์เลื้อยคลาน)
หลายคนเข้าใจผิดว่า ไดโนเสาร์ คือสัตว์ที่อาศัยอยู่ในมหายุคมีโซโซอิกทั้งหมด แต่จริงๆ แล้ว ไดโนเสาร์ คือสัตว์ชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนพื้นดินเท่านั้น สัตว์บกบางชนิดที่คล้ายไดโนเสาร์ สัตว์น้ำและสัตว์ปีกที่มีลักษณะคล้ายไดโนเสาร์ ไม่ถือว่าเป็นไดโนเสาร์ เป็นเพียงสัตว์ชนิดที่อาศัยอยู่ในยุคเดียวกับไดโนเสาร์เท่านั้น
แม้ว่าไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปนานหลายล้านปีแล้ว แต่คำว่าไดโนเสาร์ก็ยังเป็นที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะไดโนเสาร์นั้นนับว่าเป็นสัตว์ชนิดหนึ่ง ที่เต็มไปด้วยปริศนาและความน่าอัศจรรย์เป็นอันมากนั่นเอง

ประวัติการค้นพบ


มนุษย์ค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์มาเป็นเวลานับพันปีแล้ว แต่ยังไม่มีผู้ใดเข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าเศษซากเหล่านี้เป็นของสัตว์ชนิดใด และพากันคาดเดาไปต่าง ๆ นานา ชาวจีนมีความคิดว่านี่คือกระดูกของมังกร ขณะที่ชาวยุโรปเชื่อว่านี่เป็นสิ่งหลงเหลือของสัตว์ที่สูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมโลกครั้งใหญ่ จนกระทั่งเมื่อมีการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ในปี ค.ศ. 1822 โดย กิเดียน แมนเทล นักธรณีวิทยาชาวอังกฤษ ไดโนเสาร์ชนิดแรกของโลกจึงได้ถูกตั้งชื่อขึ้นว่า อิกัวโนดอน เนื่องจากซากดึกดำบรรพ์นี้มีลักษณะละม้ายคล้ายคลึงกับโครงกระดูกของตัวอิกัวนาในปัจจุบัน
สองปีต่อมา วิลเลียม บักแลนด์ (William Buckland) ศาสตราจารย์ด้านธรณีวิทยา ประจำมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เป็นคนแรกที่ตีพิมพ์ข้อเขียนอธิบายเกี่ยวกับไดโนเสาร์ในวารสารทางวิทยาศาสตร์ โดยเป็นไดโนเสาร์ชนิด เมกะโลซอรัส บักแลนดี (Megalosaurus bucklandii) และการศึกษาซากดึกดำบรรรพ์ของสัตว์พวกกิ้งก่า ขนาดใหญ่นี้ก็ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จากนักวิทยาศาสตร์ทั้งในยุโรปและอเมริกา
จากนั้นในปี ค.ศ. 1842 เซอร์ ริชาร์ด โอเวน เห็นว่าซากดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ที่ถูกค้นพบมีลักษณะหลายอย่างร่วมกัน จึงได้บัญญัติคำว่า ไดโนเสาร์[1] เพื่อจัดให้สัตว์เหล่านี้อยู่ในกลุ่มอนุกรมวิธานเดียวกัน นอกจากนี้ เซอร์ริชาร์ด โอเวน ยังได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ ขึ้น ที่เซาท์เคนซิงตัน กรุงลอนดอน เพื่อแสดงซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ รวมทั้งหลักฐานทางธรณีวิทยาและชีววิทยาอื่น ๆ ที่ถูกค้นพบ โดยได้รับการสนับสนุนจากเจ้าชายอัลเบิร์ตแห่งแซกซ์-โคเบิร์ก-โกทา (Prince Albert of Saxe-Coburg-Gotha) พระสวามีของสมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร
จากนั้นมา ก็ได้มีการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในทุกทวีปทั่วโลก (รวมทั้งทวีปแอนตาร์กติกา) ทุกวันนี้มีคณะสำรวจซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อยู่มากมาย ทำให้มีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขึ้นอีกเป็นจำนวนมาก ประมาณว่ามีการค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่เพิ่มขี้นหนึ่งชนิดในทุกสัปดาห์ โดยทำเลทองในตอนนี้อยู่ที่ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ โดยเฉพาะประเทศอาร์เจนตินา และประเทศจีน
ลักษณะทางชีววิทยา

ไดโนเสาร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดยักษ์ซึ่งพวกมันมีผิวหนังที่ปกคลุมเป็นเกล็ดเช่นเดียวกับ งู จระเข้ หรือ เต่า กระเพาะอาหารของไดโนเสาร์กินพืช มักมีขนาดใหญ่แต่อย่างไรก็ตามเนื่องจากเซลลูโลสของพืชทำให้บางครั้งมันจึงต้องกลืนก้อนหินไปช่วยย่อย ส่วนไดโนเสาร์กินเนื้อจะย่อยอาหาร ได้เร็วกว่า แต่กระนั้น ข้อมุลของไดโนเสาร์ยังไม่ทราบแน่ชัดนัก เนื่องจากไดโนเสาร์สูญพันธ์ไปหมดเหลือเพียงซากดึกดำบรรพ์ ดังนั้น นักบรรพชีวินวิทยาจึงต้องใช้ซากฟอสซิลนี้ในการสันนิษฐานของ ข้อมูลต่างๆ พฤติกรรม การล่าเหยื่อ และการดำรงชีวิตของไดโนเสาร์ขึ้นมาซึ่งอาจจะไม่ตรงกับความเป็นจริงเท่าไรนัก
วิวัฒนาการ

บรรพบุรุษของไดโนเสาร์คือ อาร์โคซอร์ (archosaur) ซึ่งไดโนเสาร์เริ่มแยกตัวออกมาจากอาร์โคซอร์ในยุค ไทรแอสซิก ไดโนเสาร์ชนิดแรกถือกำเนิดขึ้นราวๆ 230 ล้านปีที่แล้ว หรือ 20 ล้านปี หลังจากเกิดการสูญพันธุ์เพอร์เมียน-ไทรแอสซิก (Permian-Triassic extinction event|Permian-Triassic extinction) ซึ่งคร่าชีวิตของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดบนโลกสมัยนั้นไปกว่า 90 เปอร์เซ็นต์
สายพันธุ์ไดโนเสาร์แพร่กระจายอย่างรวดเร็วหลังยุคไทรแอสซิก กล่าวได้ว่าในยุคทองของไดโนเสาร์ (ยุคจูแรสซิก และยุคครีเทเชียส) ทุกสิ่งมีชีวิตบนพื้นพิภพที่มีขนาดใหญ่กว่าหนึ่งเมตรคือไดโนเสาร์ จนกระทั่งเมื่อ 65 ล้านปีที่แล้ว การการสูญพันธุ์ครีเทเชียส-เทอร์เทียรี (Cretaceous-Tertiary extinction) ก็ได้กวาดล้างไดโนเสาร์จนสูญพันธุ์ เหลือเพียงไดโนเสาร์บางสายพันธุ์ที่เป็นบรรพบุรุษของนกในปัจจุบัน ยุคต่างๆของไดโนเสาร์
มหายุค เมโสโซอิค (Mesaozoic Era) 65-225 ล้านปี ในยุคนี้มี 3 ยุค คือ ยุค ไตรแอสสิก ยุคจูราสสิก ยุคครีเตเซียส และยุคซีโนโซอิกในยุคไตรแอสสิกนี้ สภาพอากาศในขณะนั้นจะมี สภาพร้อนและแล้งมากขึ้นกว่าในอดีต ทำให้ต้นไม้ใหญ่น้อยในเขตร้อนสามารถเจริญเติบโตได้ ดีมาก จนกระทั่ง "ไดโนเสาร์ ตัวแรก"ได้ถือกำเนิดขึ้นมาบนโลกนี้ ไดโนเสาร์กลุ่มแรกที่ได้กำเนิด ขึ้นมาจะมีขนาดเล็กเดิน 2 เท้า และมีลักษณะพิเศษ คือ เท้ามีลักษณะคล้ายกับเท้าของนก ต่อมา ในยุคจูราสสิกนี้ จัดว่าเป็นยุคที่เฟื่องฟูเป็นอย่างมาก บรรดาพืชพรรณธัญญาหารที่อุดมสมบูรณ์ ทำให้ไดโนเสาร์จำนวนมากขยายพันธุ์ไปอย่างรวดเร็ว ทำให้มีร่างกายใหญ่โต ซึ่งส่วนใหญ่จะกินพืช เป็นอาหาร และยุคนี้ยังได้ ถือกำเนิด นก ขึ้นมาเป็นครั้งแรกอีกด้วย ต่อมาในยุคครีเตเชียสนี้ จัดว่า เป็นยุคที่ไดโนเสาร์นั้นรุ่งเรื่องที่สุด เพราะยุคนี้ไดโนเสาร์ ได้มีการพัฒนาพันธุ์ออกมาอย่างมากมาย
ยุคของไดโนเสาร์

ยุคไทรแอสสิก

การครอบ ครองโลกของไดโนเสาร์ในยุคนี้โลกถูกปกคลุมด้วยป่าไม้จำนวนมาก พืชตระกูลที่ใช้สปอร์ในการขยายพันธ์ประสบความสำเร็จและมีวิวัฒนาการถึงขั้นสูงสุด ในป่ายุคไตรแอสสิกช่วงแรกนั้นมีสัตว์ใหญ่ไม่มากนักสัตว์ปีกที่ใหญ่ที่สุดคือแมลงปอยักษ์ที่ปีกกว้างถึง2ฟุตและได้ชื่อว่าเป็นนักล่าเวหาเพียงชนิดเดียวของยุคนี้ เนื่องจากในช่วงปลายของยุคเปอร์เมียนเกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิตทำให้พวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมจำนวนมาก สูญพันธุ์ไปพวกที่เหลือได้สืบทอดเผ่าพันธุ์มาจนถึงต้นยุคไตรแอสสิกในกลุ่มสัตว์เหล่านี้เจ้าซินนอกนาตัสเป็นสัตว์นักล่าที่น่าเกรงขามที่สุด ในหมู่พวกมันและในช่วงนี้เองไดโนเสาร์ก็ถือกำเนิดขึ้นโดยพวกมันวิวัฒนาการมาจากสัตว์เลื้อยคลานที่เดินด้วยขาหลังอย่างเจ้าธีโคดอนซึ่งถือกันว่าเป็นบรรพบุรุษของไดโนเสาร์ การสูญพันธ์ครั้งใหญ่ในยุคเปอร์เมียนทำให้พวกมันสามารถขยายเผ่าพันธุ์ได้อย่างมากมายในช่วงต้นยุคไตรแอสสิกและกลายมาเป็นคู่แข่งของพวกสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมที่เหลือ ไดโนเสาร์ในยุคแรกเป็นพวกเดินสองขา เช่น พลาทีโอซอร์ ไดโนเสาร์กินพืชคอยาวที่เป็นบรรพบุรุษของพวก ซอโรพอด หรือเจ้าซีโลไฟซิส บรรพบุรุษของพวกกินเนื้อ นักล่าสองขาความสูง 1 เมตร การที่มันสามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยสองขาหลังทำให้พวกมันมีความคล่องตัวในการล่าสูงกว่า ซินนอกนาตัส หรืออีรีโทรซูคัสที่ยาวถึง 15 ฟุตซึ่งมีกรามขนาด ใหญ่และแข็งแรงนักล่าเหล่านี้ได้เปรียบซินนอกนาตัสและสัตว์เลื้อยคลานกึ่งเลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆทำให้พวกนี้ต้องวิวัฒนาการให้มีขนาดเล็กลงเพื่อที่จะหลบหนีพวกไดโนเสาร์ และหลีกทางให้เผ่าพันธุ์ไดโนเสาร์ก้าวมาครองโลกนี้แทนในที่สุด

ยุคจูราสสิก

ไดโนเสาร์ครอบครองโลกได้สำเร็จในตอนปลายยุคไตรแอสสิก จนเมื่อเข้าถึงยุคจูราสสิกพวกมันก็ขยายเผ่าพันธุ์ไปทั่วโลกในยุคนี้ผืนแผ่นดินถูกปกคลุมด้วยพืชขนาดยักษ์จำพวกสนและเฟิร์นอย่างไรก็ตามได้เริ่มมีพืชดอกปรากฏขึ้นเป็นครั้งแรกในช่วงกลางของยุคนี้นับว่าเป็นจุดเริ่มของการขยายพันธุ์รูปแบบใ หม่ของพวกพืชในยุคจูราสสิกนับได้ว่าเป็นยุคที่พวกไดโนเสาร์คอยาวตระกูลซอโรพอด(Sauropod)ขยายเผ่าพันธุ์อย่างกว้างขวางพวกมันเป็นไดโนเสาร์ ขนาดยักษ์สายพันธุ์ที่รู้จักกันดีก็คือ แบรกคิโอซอรัส (Brachiosaurus) ดิปโพลโดคัส (Diplodocus) และอะแพทโตซอรัส (Apatosaurus)หรืออีกชื่อคือบรอนโตซอรัสนอกจากนี้ยังมีชนิดอื่นๆอีกมากมายสัตว์ยักษ์เหล่านี้ครั้งหนึ่งถูกมองว่า เป็นสัตว์ที่โง่และไม่อาจป้องกันตัวจากสัตว์นักล่าได้ทว่าในปัจจุบันนักโบราณคดีชีววิทยา (paleontology)เชื่อว่าพวกมันใช้หางที่หนาหนักศัตรูที่มาจู่โจมซึ่งนับว่าเป็นการตอบโต้ที่น่ายำเกรงไม่น้อยและเพราะหางที่ยาว และมีน้ำหนักมากนี่เองที่ทำให้พวกมันต้อง มีคอยาวเพื่อสร้างสมดุล ของสรีระของมัน

ยุคครีเตเซียส

ยุคครีเตเชียสเป็นยุคที่ต่อจากยุคจูแรสสิกสัตว์เลื้อยคลานเจริญมากในยุคนี้ ที่ประเทศอเมริกาก็มีการค้นพบสัตว์ทะเลที่เคยอาศัยอยุ่ในช่วงเดียวกันกับไดโนเสาร์ได้แก่ พวกพลีสิโอซอร์เช่น อีลาสโมซอรัส พวกกิ้งก่าทะเลโมซาซอร์อย่างไฮโนซอรัส และอาเครอนเป็นพวกเต่าอาศัยอยู่ในทะเล บนท้องฟ้าก็มีเคอาร์โคโทรุสซึ่งมีขนาดปีกยาวถึง 15 เมตร บินอยู่มากมายยุคนี้เป็นยุคที่ไดโนเสาร์มีการพัฒนาตัวเองอย่างมาก พวกซอริสเชียนที่กินเนื้อมีตัวขนาดใหญ่ได้แก่ อัลเบอร์โตซอรัส ไทรันโนซอรัสปรากฏในยุคนี้มีลักษณะดังนี้ไทรันโนซอรัสนั้นมีเล็บที่ขาหลังใหญ่โตและมีฟันแหลมยาวประมาณ 13 เซนติเมตร เพื่อใช้จับเหยื่อพวกซอริสเชียนที่กินทั้งพืชและสัตว์เป็นอาหารก็ได้แก่ ออนิโตมิมัสพวกออร์นิธิสเชียนมักจะเป็นพวกกินพืชพวกที่ถูกค้นพบครั้งแรกก็ได้แก่ อิกัวโนดอน แล้วก็พบ ฮิพุชิโรโฟดอน และ ฮาโดโรซอรัส พวกออร์นิธิสเชียน ได้แก่ ไทรเซอราทอปส์ แองคิโลซอรัส พบเจริญอยู่มากมาย แต่ว่าก่อนจะหมดยุคครีเตเชียส นั้นอากาศก็เริ่มเปลี่ยนแปลงไดโนเสาร์บางพวกเริ่มตายลงและสูญพันธุ์หลังจากไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไปแล้วสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมก็มีบทบาทขึ้นมาบนโลก

การจัดจำแนก
ไดโนเสาร์ถูกแบ่งออกเป็นสองอันดับใหญ่ ๆ ตามลักษณะโครงสร้างของกระดูกเชิงกราน คือ Saurischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ซอริสเชียน) ซึ่งมีลักษณะกระดูกเชิงกรานแบบสัตว์เลื้อยคลาน มีทั้งพวกกินพืชและกินสัตว์ และ :en:Ornithischia|Ornithischia (เรียกไดโนเสาร์ในอันดับนี้ว่า ออร์นิทิสเชียน) มีกระดูกเชิงกรานแบบนกและเป็นพวกกินพืชทั้งหมด
ไดโนเสาร์สะโพกสัตว์เลื้อยคลาน หรือ ซอริสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกสัตว์พวกกิ้งก่า) เป็นไดโนเสาร์ที่คงโครงสร้างของกระดูกเชิงกรานตามบรรพบุรุษ ซอริสเชียนรวมไปถึงไดโนเสาร์เทอโรพอด (theropod) (ไดโนเสาร์กินเนื้อเดินสองขา) และซอโรพอด (sauropod) (ไดโนเสาร์กินพืชคอยาว)
ไดโนเสาร์สะโพกนก หรือ ออร์นิทิสเชียน (จากภาษากรีก แปลว่าสะโพกนก) เป็นไดโนเสาร์อีกอันดับหนึ่ง ส่วนใหญ่เดินสี่ขา และกินพืช

การสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์


         สาเหตุของการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์ได้มีการนำเสนอกันมาหลายปีแล้ว จากทฤษฏีซึ่งได้เคยมีผู้เสนอจำนวนมาก มีคนนับได้ถึง 95 ทฤษฏีที่ต่างกัน ตั้งแต่ความคิดที่ว่าพระเจ้ากลับลงมาในโลกและทำลายล้างด้วยปืนรังสี จนถึงความคิดว่ามันตายเนื่องจากท้องผูกหรือท้องเสีย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของพืชที่เป็นอาหารในยุคนั้น แต่มาถึงปัจจุบันนี้ได้ยอมรับความคิดของผู้เชี่ยวชาญทั้งหลาย รวมกันเหลือเป็นเพียง 2 ทฤษฏี คือ
ทฤษฏีที่เกี่ยวข้องกับการสูญพันธุ์

               ทฤษฏีแรกเป็นทฤษฏีของจักรวาลซึ่งให้ความเห็นว่ามีบางอย่างจากนอกโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของชีวิตบนโลก เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว สิ่งที่กล่าวขวัญกันถึงมากเป็นพิเศษ คือ การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว โดยอุกกาบาตขนาดใหญ่ตกลงมาในโลก ซึ่งผลของการตกทำให้โลกเกิดความเสียหาย ส่งผลให้เกิดฝุ่นและไอน้ำจำนวนมาก กระจายขึ้นสู่บรรยากาศบดบังแสงอาทิตย์ เป็นเวลาแรมเดือน หรือแรมปี ยังผลให้โลกเกิดเย็นลงและมืด เป็นสาเหตุที่ฆ่าสัตว์และพืชรวมทั้งไดโนเสาร์ภาพจินตนาการเหตุการณ์เมื่อ 65 ล้านปีก่อนเมื่ออุกกาบาตขนาดใหญ่ตกใส่โลก ส่งผลให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์

        ทฤษฏีที่สอง มาจากความรู้ที่ว่า ทวีปต่าง ๆ บนโลกมีการเคลื่อนไหวจากกระบวนการที่รู้จักกันในนาม ทวีปจร (Continental Drift) และเกิดเนื่องจากทวีปต่างๆ อยู่บนผิวเปลือกโลกบาง ซึ่งหุ้มห่อภายในโลกที่เป็นของเหลวร้อนเหมือนลาวาที่ไหลออกมาจากภูเขาไฟ ในขณะที่หินเหลวร้อนภายในโลกเคลื่อนไหวนั้น ก็จะดึงเอาเปลือกโลกเคลื่อนตัว ซึ่งจะทำให้ทวีปเคลื่อนที่ไปเหมือนกับมันอยู่บนสายพานขนาดยักษ์นั่นเอง
ในช่วงเวลาที่ไดโนเสาร์มีชีวิตอยู่ โลกค่อนข้างอบอุ่น เหมาะกับสัตว์เลี้อยคลาน ขนาดยักษ์ จนกระทั่งปลายสมัยของยุคไดโนเสาร์ เราจะพบว่าพืชค่อยๆ เปลี่ยนเป็นพวกที่ชอบอากาศเย็นขึ้น ซึ่งสันนิษฐานได้ว่า สภาพอากาศของโลกได้เปลี่ยนไปอย่างช้า ๆ และเป็นสิ่งที่ไดโนเสาร์ไม่ชอบ เราจะเริ่มพบสัตว์ที่ชอบอากาศเย็นกว่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ เช่น สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่มีขนหนา เริ่มมีมากกว่าพวกไม่มีขน คำอธิบายนี้ก็คือ ทวีปได้เคลื่อนไปมากในช่วงเวลา 140 ล้านปี ที่ซึ่งไดโนเสาร์อยู่อาศัย และอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปโดยสิ้นเชิง ทำให้ไดโนเสาร์สูญพันธุ์ไป



ภาพแสดงความเปลี่ยนแปลงของทวีปและอากาศ แบบค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อย ซึ่งพวกโดโนเสาร์ไม่ชอบจนต้องสูญพันธุ์
 จากทฤษฏีแรกที่บอกว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วโดยการพุ่งชนของอุกกาบาต ในขณะที่อีกทฤษฏีหนึ่งกล่าวถึงการเปลี่ยนแปลงอย่างค่อยเป็นค่อยไปทีละน้อยของอากาศ ซึ่งอาจจะเป็นพันหรือเป็นล้านปีก็ได้ ในขณะนี้ความรู้ที่เราได้ไม่สามารถจะบอกได้ว่าทฤษฏีไหนจะถูกกว่ากัน ในขณะที่กลุ่มที่เชื่อทฤษฏีดาวตก มีเหตุผลว่า เขาสามารถพิสูจน์ได้ว่าไดโนเสาร์ตายไปทั้งหมดอย่างทันทีทันใด ทั้งนี้เนื่องจากไม่มีการพบไดโนเสาร์อีกเลย หลังจากยุคครีเทเชียสแล้ว และยังเชื่อว่าสามารถพิสูจน์ได้ว่าดาวตกเป็นเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ เพราะว่าเขาพบชั้นดินที่สะสมตัวในช่วงปลายยุคครีเทเชียส มีส่วนประกอบของแร่ตัวหนึ่ง ซึ่งมีธาตุอิริเดียมอยู่มากเป็นพิเศษ นักวิทยาศาสตร์ที่ศึกษาเรื่องนี้กล่าวว่าอิริเดียมที่มีปริมาณสูงเช่นนี้เกิดได้โดยทางเดียวเท่านั้น คือ จากอุกกาบาตที่มาจากนอกโลก ธาตุอิริเดียมน่าจะมาจากฝุ่นซึ่งเกิดจากการระเบิดของอุกกาบาตขณะที่ชนโลกเหมือนกับระเบิดขนาดมหึมาทีเดียวแต่เหล่านักวิทยาศาสตร์ที่ชอบทฤษฏีที่อากาศมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ ต่างก็มีความเห็นว่า ไดโนเสาร์นั้นไม่ได้สูญพันธ์ไปอย่างทันทีทันใด เช่นเดียวกับข้ออ้าง แต่ดูเหมือนว่ามันจะค่อย ๆ ลดน้อยลงในช่วงเวลาหลายล้านปี และยังแสดงลักษณะของพืชหลาย ๆ ชนิดที่ค่อย ๆ เปลี่ยนเป็นพืชที่ชอบอากาศเย็น นักวิทยาศาสตร์เหล่านี้ยังอ้างถึงธาตุอิริเดียมที่มีค่าผิดปกตินั้นว่า ไม่ได้มาจากการระเบิดของอุกกาบาตที่พุ่งเข้าชนโลก แต่มาจากการระเบิดของภูเขาไฟ ซึ่งเกิดขึ้นอย่างมากมายในช่วงสิ้นยุคครีเทเชียส ธาตุอิริเดียมถูกกักอยู่ในหินหลอมละลายภายใต้โลก และถูกพ่นขึ้นมาในช่วงเวลาที่เกิดการระเบิดของภูเขาไฟขนาดใหญ่


ที่มา:https://sites.google.com/site/dinosaur1385/yukh-khxng-dinosear/yukh-kh-ri-te-seiys

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น